ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือ "Cyber Security" คือสิ่งจำเป็นสำหรับทั้งบุคคลและองค์กร เนื่องจากการโจมตีทางไซเบอร์มีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการขโมยข้อมูล การโจมตีด้วยมัลแวร์ หรือการแฮ็กระบบเพื่อเข้าถึงข้อมูลสำคัญ หากไม่มีมาตรการป้องกันที่ดีพอ อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ได้อย่างมหาศาล
แล้ว Cyber Security คืออะไร มีรูปแบบใดบ้าง มีส่วนช่วยองค์กรจากการภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างไร และมีวิธีใดบ้างที่สามารถปกป้องข้อมูลสำคัญไม่ให้รั่วไหล บทความนี้ Data Wow มีคำตอบมาให้!
การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือ Cyber Security คือ แนวทางและกระบวนการที่ใช้ในการปกป้องระบบคอมพิวเตอร์ เครือข่าย และข้อมูลจากการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต ภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Cyber Threats) และการละเมิดข้อมูล (Data Breach) โดยครอบคลุมถึงการป้องกันไวรัส มัลแวร์ (Malware) ฟิชชิง (Phishing) และภัยคุกคามอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อองค์กรหรือบุคคลทั่วไป
ภัยคุกคามทางไซเบอร์ หรือ Cyber Threats คือ ความเสี่ยงหรือการกระทำที่เป็นอันตราย ซึ่งมุ่งโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ เครือข่าย และข้อมูลของบุคคลหรือองค์กร โดยมีเป้าหมายเพื่อ ขโมยข้อมูล แทรกแซงการทำงาน หรือทำลายระบบ สามารถเกิดขึ้นได้จาก แฮกเกอร์ (Hackers) องค์กรอาชญากรรม หรือบุคคลภายในที่ไม่หวังดี เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาดังกล่าว ทำให้การจัดการความเสี่ยงทางไซเบอร์ หรือ Cyber Security Management คือตัวเลือกที่องค์กรควรให้ความสำคัญ และนำไปประยุกต์ใช้ภายในองค์กร
ข้อดีข้อแรกของ Cyber Security คือ ปกป้องข้อมูลสำคัญไม่ให้รั่วไหล เนื่องจากข้อมูลเป็นทรัพย์สินที่มีค่าขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลลูกค้า ข้อมูลธุรกรรม หรือข้อมูลเชิงกลยุทธ์ หากข้อมูลเหล่านี้รั่วไหล อาจนำไปสู่ความเสียหายร้ายแรง เช่น การเสียความเชื่อมั่นจากลูกค้า หรือการถูกดำเนินคดีทางกฎหมายตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เช่น PDPA และ GDPR
ข้อดีข้อถัดไปของระบบ Cyber Security คือ ลดความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์ เช่น Ransomware, Phishing, DDoS Attack กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากไม่มีมาตรการป้องกันที่รัดกุม องค์กรอาจต้องเผชิญกับความสูญเสียทางการเงิน และเกิดการขัดข้องของระบบเป็นเวลานาน การลงทุนในระบบ Cyber Security จึงเป็นตัวช่วยที่ดีในการลดความเสี่ยงเหล่านี้
ข้อดีข้อสุดท้ายของ Cyber Security คือ รักษาภาพลักษณ์และชื่อเสียงขององค์กร หากเกิดเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลหรือถูกแฮ็ก องค์กรอาจสูญเสียความไว้วางใจจากลูกค้า และส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ในระยะยาว องค์กรที่มีมาตรการ Cyber Security ที่เข้มงวดจะสามารถสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าและพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น
อ่านมาถึงตรงนี้ ทุกคนคงเข้าใจกันแล้วว่า Cyber Security คืออะไร หมายถึงอะไร ในหัวข้อนี้เราจะมาดูันว่า Cyber Security กี่ประเภท และมีอะไรบ้าง
CloudSecurity เป็นการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ถูกจัดเก็บและประมวลผลบนระบบคลาวด์ เช่น AWS, Google Cloud และ Microsoft Azure ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยลดความซับซ้อนในการจัดเก็บข้อมูล แต่ก็ยังคงมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัย เช่น การรั่วไหลของข้อมูล และ การโจมตีแบบกำหนดเป้าหมาย (Targeted Attacks) ดังนั้น องค์กรควรใช้มาตรการรักษาความปลอดภัย เช่น การเข้ารหัสข้อมูล (Encryption), Zero Trust Security Model และ การสำรองข้อมูลอัตโนมัติ เพื่อให้การจัดเก็บข้อมูลบนระบบคลาวด์มีความรัดกุมมากยิ่งขึ้น
แอปพลิเคชันบนเว็บ (Web Applications) คือหนึ่งในประเภทของ Cyber Security ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยตรงมักตกเป็นเป้าหมายของแฮกเกอร์ (Threat Actors) ในปี 2007 องค์กร OWASP (Open Web Application Security Project) ได้จัดทำ 10 อันดับภัยคุกคามทางแอปพลิเคชัน ซึ่งเป็นช่องโหว่สำคัญของการถูกโจรกรรมข้อมูล เช่น
โดย Application Security จะช่วยป้องกันการโจมตีจากภัยคุกคามต่าง ๆ รวมถึงป้องกัน Bot Attacks และการโจมตี API ที่เป็นอันตราย
อ้างอิง : Top 10 Web Application Security Risks
การโจมตีทางไซเบอร์ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นผ่านเครือข่าย (Network) ดังนั้น Network Security จึงถูกออกแบบมาเพื่อตรวจจับและป้องกันการโจมตีเหล่านี้ โดยโซลูชันด้าน Network Security ประกอบด้วย การควบคุมข้อมูลและการเข้าถึง (Data & Access Controls) เช่น
และเทคโนโลยีป้องกันภัยคุกคามเครือข่ายแบบขั้นสูงและหลายชั้น (Advanced & Multi-layered Threat Prevention) เช่น
โดยโซลูชันเหล่านี้มีส่วนช่วยให้องค์กรสามารถตรวจจับ และตอบสนองต่อภัยคุกคามได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
อย่างที่เราทราบกันว่า การใช้อุปกรณ์ Internet of Things (IoT) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในขณะเดียวกันก็เปิดช่องให้เกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์รูปแบบใหม่ ผู้ไม่หวังดีจะค้นหาอุปกรณ์ที่มีช่องโหว่และมีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต เพื่อนำไปใช้ในทางที่ผิด เช่น ใช้เป็นช่องทางเข้าถึงเครือข่ายองค์กร หรือ เปลี่ยนอุปกรณ์ให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายบอททั่วโลก จึงต้องมี IoT Security เพื่อช่วยปกป้องอุปกรณ์เหล่านี้ผ่านแนวทางต่าง ๆ
API Security คือ แนวทางในการ ปกป้อง Application Programming Interface (API) จากการโจมตีทางไซเบอร์ ซึ่งอาจถูกใช้ในทางที่ผิดเพื่อโจรกรรมข้อมูล หรือสร้างความเสียหายต่อระบบ API Security ใช้ กลยุทธ์ เทคนิค และโซลูชันต่าง ๆ เพื่อให้แน่ใจว่า เฉพาะผู้ใช้งานที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ที่สามารถเข้าถึงและใช้งาน API ได้ นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันข้อมูลที่ถูกส่งผ่าน API ไม่ให้ถูกเข้าถึงหรือแก้ไขโดยไม่ได้รับอนุญาต
Machine Learning Security คือ แนวทางในการ ปกป้องระบบและโมเดล Machine Learning (ML) จากภัยคุกคามทางไซเบอร์ รวมไปถึงการป้องกันข้อมูลที่ใช้ในการฝึกโมเดล การป้องกันการโจมตีที่อาจทำให้โมเดลทำงานผิดพลาด และการรักษาความปลอดภัยของกระบวนการเรียนรู้ของเครื่อง
ระบบ Cyber Security แบบดั้งเดิมมักเน้นปกป้องจากภายนอก (Perimeter-Focused Security) แต่แนวทาง Zero Trust Security จะมีข้อจำกัดในการที่เน้นปกป้องภัยคุกคามภายในองค์กร (Insider Threats) และการเปลี่ยนแปลงของขอบเขตเครือข่าย (Network Perimeter Dissolution) ที่เกิดขึ้นจากการทำงานระยะไกลและการใช้ระบบคลาวด์ Zero Trust Security จึงเป็นแนวทางที่ให้ความปลอดภัยแบบละเอียดขึ้น (Granular Security) โดยไม่เชื่อถือใครโดยอัตโนมัติ รวมถึงผู้ที่อยู่ภายในเครือข่ายองค์กรเอง
Cyber Security คือเรื่องที่องค์กรต้องให้ความสำคัญ และควรปฏิบัติตามแนวทางป้องกันที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์ โดยมีแนวทางป้องกันความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ทั้งระดับบุคคลและองค์กรสามารถทำได้ ดังนี้
ใช้รหัสผ่านที่ปลอดภัยและมีนโยบายการเปลี่ยนรหัสผ่าน: ควรตั้งรหัสผ่านที่ยาวและซับซ้อน และใช้เครื่องมือจัดการรหัสผ่านเพื่อป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต
เปิดใช้งาน Multi-Factor Authentication (MFA): เพิ่มชั้นความปลอดภัยโดยใช้ OTP หรือ Biometric Authentication เพื่อลดโอกาสที่แฮกเกอร์จะสามารถเข้าถึงบัญชีได้
อัปเดตซอฟต์แวร์และแพตช์ระบบอย่างสม่ำเสมอ: การใช้ซอฟต์แวร์เวอร์ชันล่าสุดช่วยปิดช่องโหว่ที่อาจถูกใช้ในการโจมตีทางไซเบอร์
สำรองข้อมูลและมีแผนกู้คืนข้อมูล (Backup & Disaster Recovery Plan): ควรจัดเก็บข้อมูลสำรองทั้งในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ เพื่อให้สามารถกู้คืนข้อมูลได้ในกรณีที่ถูกโจมตีจาก Ransomware หรือระบบล่ม
ติดตั้งและอัปเดต Firewall และ Antivirus: การใช้ระบบป้องกันมัลแวร์ที่ทันสมัยช่วยลดความเสี่ยงจากไวรัสและภัยคุกคามทางไซเบอร์
ให้ความรู้และฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับ Cyber Security: หลายครั้งที่ภัยคุกคามเกิดจากความผิดพลาดของมนุษย์ เช่น การคลิกลิงก์ที่เป็นอันตราย องค์กรควรให้การอบรมเกี่ยวกับ Social Engineering และ Phishing Attack
ตรวจสอบและเฝ้าระวังระบบอย่างสม่ำเสมอ: ใช้ระบบ SIEM (Security Information and Event Management) และเทคโนโลยี AI เพื่อช่วยวิเคราะห์และตรวจจับพฤติกรรมที่ผิดปกติแบบเรียลไทม์
กำหนดนโยบาย Zero Trust Security: องค์กรควรใช้แนวคิด ‘Zero Trust’ ที่กำหนดให้ทุกการเข้าถึงต้องได้รับการตรวจสอบและอนุมัติก่อน เพื่อป้องกันการละเมิดด้านความปลอดภัยจากบุคคลทั้งภายในและภายนอก
การปฏิบัติตามแนวทางเหล่านี้จะช่วยให้องค์กรสามารถรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างความมั่นคงให้กับระบบไอทีและข้อมูลสำคัญของธุรกิจ
ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันนี้ เกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์การละเมิดข้อมูลเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในประเทศไทย โดยมีเป้าหมายตั้งแต่ระดับบุคคล (Personal Data Breach) ไปจนถึงระดับองค์กร หากเกิดข้อมูลรั่วไหล องค์กรไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) หรือปฏิบัติได้ไม่ครบถ้วน อาจเสี่ยงโดนฟ้องและต้องรับผิดทางกฎหมาย ทำให้ ระบบ Cyber Security คือ สิ่งจำเป็นในยุคดิจิทัลที่องค์กรและบุคคลทั่วไปต้องให้ความสำคัญ การมีมาตรการป้องกันที่เหมาะสมช่วยปกป้องข้อมูล ลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ และรักษาความน่าเชื่อถือขององค์กร
อยากจัดการระบบฐานข้อมูลให้เป็นระเบียบ ปลอดภัย ใช้งานข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนองค์กรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไง? สามารถทำงานร่วมกับ Data Engineer ที่มากด้วยประสบการณ์ พร้อมเทคโนโลยี Cyber Security ที่ช่วยป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์กับ Data Wow ได้วันนี้ที่ sales@datawow.io หรือโทร 02-024-5560