คงจะเป็นเรื่องดีไม่น้อย ถ้าธุรกิจของคุณสามารถมองเห็นอนาคตได้ล่วงหน้า คุณจะวางแผนรับมือกับยอดขายที่ตกลงในหน้าฝนอย่างไร? คุณจะจัดโปรโมชั่นอะไรถ้ารู้ว่าลูกค้ากลุ่มไหนกำลังจะเลิกใช้บริการ? เรื่องพวกนี้สามารถจัดการได้ ด้วยการวิเคราะห์ขั้นสูงอย่าง ‘Predictive Analytics’ หรือ ‘การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์’ ที่ได้เปลี่ยนการคาดเดาให้กลายเป็นการคาดการณ์ที่อิงจากข้อมูลจริง ช่วยให้ธุรกิจวางแผนอย่างแม่นยำ ตัดสินใจได้เร็ว และลดความเสี่ยงได้อย่างมีชั้นเชิง
บทความนี้จะมาทำความเข้าใจกันว่า Predictive Analytics คืออะไร ทำงานยังไง และจะใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับธุรกิจในโลกที่การรู้ก่อนคือความได้เปรียบ
การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ หรือ Predictive Analytics คือ หนึ่งในสาขาของการวิเคราะห์ขั้นสูง (Advanced Analytics) ที่เน้นการคาดการณ์ผลลัพธ์ในอนาคตโดยอาศัยข้อมูลในอดีต ผสมผสานกับการทำแบบจำลองทางสถิติ (Statistical Modeling), เทคนิคการทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) Machine Learning และ AI
องค์กรต่าง ๆ ใช้ Predictive Analytics เพื่อค้นหารูปแบบในข้อมูล ซึ่งช่วยในการระบุความเสี่ยงและโอกาสต่าง ๆ โดย Predictive Analytics มักเกี่ยวข้องกับ Big Data และ Data Science
ความสามารถในการคาดการณ์อนาคตเป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั้งวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และภาคธุรกิจ ล้วนใช้ Predictive Analytics เพื่อวางแผนและตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ โดยอาศัยเทคนิควิเคราะห์อย่าง Regression Analysis และ Decision Trees ซึ่งยังคงถูกใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
ด้วยการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของ Machine Learning, Data Mining และ Deep Learning ทำให้ Predictive Analytics สามารถขยายขอบเขตการใช้งานไปสู่บริบทที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลใน Data Lake และดึงข้อมูลเชิงลึกกับแนวโน้มที่ซ่อนอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทำให้ Predictive Analytics คือส่วนหนึ่งของกระบวนการธุรกิจสมัยใหม่ ที่มอบความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างมีนัยสำคัญให้กับองค์กรที่ปรับตัวได้ไวและนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ปัจจุบัน Predictive Analytics จะขับเคลื่อนด้วยเทคนิค Machine Learning และ Deep Learning ขั้นสูง นักวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้ Deep Learning เพื่อวิเคราะห์ตัวแปรจำนวนมาก และสร้างโมเดลคาดการณ์ที่สามารถทำนายพฤติกรรมของลูกค้าหรือแนวโน้มธุรกิจจากข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)
กระบวนการนี้ไม่ใช่สิ่งที่ทำเพียงครั้งเดียวแล้วจบ แต่เป็นระบบที่เรียนรู้และปรับปรุงอยู่เสมอ เมื่อมีข้อมูลใหม่เข้ามา โมเดลจะอัปเดตตัวเองเพื่อให้ผลการคาดการณ์แม่นยำขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีกระบวนการตั้งแต่การทำความสะอาดข้อมูล (Data Cleansing), การฝึกโมเดล (Model Training), การใช้งานจริง (Deployment), รับฟีดแบ็ก และการฝึกซ้ำ โดยทั้งหมดนี้ควบคู่ไปกับความสามารถในการประมวลผลข้อมูลแบบเกือบเรียลไทม์
โดยเทคนิคที่ใช้ในการสร้างโมเดล Predictive Analytics ได้แก่ Decision Trees, Regression Analysis, Time Series Analysis และ Deep Learning Neural Networks
อ่านมาถึงตรงนี้ทุกคนคงรู้กันแล้วว่า Predictive Analytics คืออะไร มีความสำคัญและหลักการทำงานอย่างไร ในหัวข้อนี้เราจะมาดูกันว่า Predictive Analytics มีจุดเด่นในด้านใดบ้าง
1. ช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจได้อย่างมีข้อมูลประกอบ: Predictive Analytics ช่วยวิเคราะห์แนวโน้มจากข้อมูลในอดีตและปัจจุบัน ทำให้ผู้ใช้งานสามารถตัดสินใจได้อย่างแม่นยำและมีเหตุผลรองรับ
2. ให้คำตอบแบบเรียลไทม์: โมเดล Predictive Analytics ที่ผ่านการฝึกฝนมาอย่างดีสามารถรับข้อมูลแบบเรียลไทม์และให้ผลลัพธ์ได้ทันที รองรับการตัดสินใจที่รวดเร็ว
3. ช่วยให้เข้าใจปัญหาซับซ้อนได้ง่ายขึ้น: เครื่องมือนี้สามารถตรวจจับรูปแบบและแนวโน้มในข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าใจประเด็นที่ซับซ้อนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
4. เพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ: องค์กรที่ใช้ Predictive Analytics มีความสามารถในการคาดการณ์เหตุการณ์ล่วงหน้าได้แม่นยำกว่า ซึ่งช่วยให้สามารถวางแผนเชิงรุกและตอบสนองตลาดได้ดีกว่าคู่แข่งที่ไม่ใช้เทคโนโลยีนี้
ข้อดีของ Predictive Analytics คือสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลายอุตสาหกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาทางธุรกิจที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น
แม้ว่าทีมการตลาดและการขายจะคุ้นเคยกับการวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังผ่าน Business Intelligence อยู่แล้ว แต่ Predictive Analytics ช่วยให้ทีมเหล่านี้สามารถวางแผนเชิงรุกได้ดีขึ้น เช่น การทำนายแนวโน้มการยกเลิกบริการ (Churn Prediction) เพื่อให้ทีมขายสามารถเข้าหาลูกค้าที่ไม่พอใจได้ก่อน และการวางแผน Cross-Sell และ Upsell โดยใช้ข้อมูลคาดการณ์เพื่อแนะนำสินค้าหรือบริการที่เหมาะกับลูกค้าแต่ละราย เป็นต้น
Predictive Analytics ในวงการสาธารณสุขถูกนำมาใช้เพื่อตรวจจับและบริหารการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รวมถึงการติดตามการแพร่กระจายของโรคเฉพาะ เช่น ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis)
ตัวอย่างเช่น ลูกค้าจาก Data Wow อย่าง Arincare ได้ใช้ Predictive Analytics นำข้อมูลไปวิเคราะห์ผ่านกระบวนการ Data Modeling เพื่อให้ได้ Insight ที่ตอบโจทย์กับการทำธุรกิจ รู้พฤติกรรมและความต้องการชองลูกค้า ตลอดจนสามารถเสนอสินค้าและบริการที่ตรงใจลูกค้าได้มากขึ้น
ในภาคการเงิน Predictive Analytics ถูกนำมาใช้ร่วมกับ Machine Learning และเครื่องมือวิเคราะห์เชิงปริมาณ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าและคาดการณ์พฤติกรรม เช่น ลูกค้าคนใดมีความเสี่ยงสูงหรือต่ำ ลูกค้าคนไหนควรโฟกัสเพื่อเพิ่มผลตอบแทนจากการตลาด และตรวจจับพฤติกรรมการใช้จ่ายที่มีแนวโน้มเป็นการฉ้อโกง โดยข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้ธนาคารวางกลยุทธ์ทางการเงินได้อย่างแม่นยำและลดความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ฝ่ายทรัพยากรบุคคลใช้ Predictive Analytics ควบคู่กับข้อมูลจากแบบสอบถามพนักงาน เพื่อจับคู่ผู้สมัครงานที่เหมาะสมกับตำแหน่ง ลดอัตราการลาออก และเพิ่มความผูกพันของพนักงาน การผสมผสานข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพนี้ช่วยลดต้นทุนการสรรหา และเพิ่มความพึงพอใจในที่ทำงาน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะในสภาวะตลาดแรงงานที่ผันผวน
สรุปได้ว่า Predictive Analytics คือเครื่องมือธุรกิจที่ไม่ใช่แค่เทคโนโลยี แต่เป็นกลยุทธ์ที่ทำให้ธุรกิจรู้ก่อนคนอื่นและสามารถวางแผนได้แม่นยำกว่าเดิม รับมือกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างชาญฉลาด ตลอดจนพัฒนาองค์กรให้เติบโตได้อย่างก้าวกระโดด
หากคุณต้องการขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูล Predictive Analytics คือก้าวแรกที่ไม่ควรมองข้าม เปิดประตูสู่โลกธุรกิจสมัยใหม่ไปพร้อมกับ Data Wow เราทำความเข้าใจธุรกิจเพื่อศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของกลุ่มลูกค้า พร้อมนำเทคโนโลยี Machine Learning และ AI เข้ามาปรับใช้ เพื่อหา Insight ที่ตอบโจทย์กับธุรกิจของคุณ ติดต่อเราได้ที่ sales@datawow.io หรือโทร 02-024-5560